รูม่านตา
ม่านตา
น้ำวุ้นลูกตาส่วนหลัง
องค์ประกอบของดวงตา
จอประสาทตา
มาคูลา
เยื่อบุตาขาว
เส้นประสาทตา
กระจกตา (Cornea) และเลนส์แก้วตา (Lens) ทำหน้าที่รวมแสงที่ผ่านเข้ามาในลูกตา ให้ไปตกกระทบบนจอรับภาพ (Retina) เพื่อให้เกิดการมองเห็น
กระจกตา
เลนส์ตา
ความรู้เกี่ยวกับสายตา
Image in front of retina
เมื่อองค์ประกอบหลักของตา ซึ่งส่งผลต่อกำลังของการรวมภาพให้ตกลงพอดีบนจอรับภาพ (Retina) มีความโค้งมากเกินไป เป็นเหตุให้จุดชัดที่สุดของการมองเห็น เกิดขึ้นก่อนถึงตำแหน่งของจอรับภาพ เหตุผลหลักที่ก่อให้เกิดภาวะผิดปกติดังกล่าว เกิดจากความโค้งของกระจกตาที่มากกว่าปกติ หรือขนาดของลูกตาที่ยาวผิดปกติ ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะใกล้กว่าปกติ และมองเห็นในระยะไกลได้น้อยกว่าปกติ
ตำแหน่งชัดที่สุดของการมองเห็น (Focal point) อยู่ก่อนถึงจอรับภาพการมองเห็นวัตถุระยะไกลไม่คมชัด มองเห็นชัดในระยะใกล้กว่าปกติ (ขึ้นอยู่กับกำลังความโค้งของกระจกตาและเลนส์ที่ทำให้เกิดภาวะสั้นมาก/น้อย)
ภาวะสายตาสั้น Myopia
ตำแหน่งชัดที่สุดของการมองเห็น (Focal point) อยู่ด้านหลังจอรับภาพการมองเห็นวัตถุระยะไกลชัดเจน มองในระยะใกล้ไม่คมชัด (ขึ้นอยู่กับกำลังความโค้งของกระจกตาและเลนส์ที่ทำให้เกิดสายตายาวมาก/น้อย)
Image behind retina
เป็นกรณีตรงกันข้ามกับภาวะสายตาสั้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรวมภาพให้ตกพอดีบนจอตา มีกำลังน้อยเกินไปทำให้จุดชัดที่สุดของภาพเลยไปตกด้านหลังจอตา เหตุผลหลักเกิดจากกระจกตามีความโค้งน้อย หรือขนาดของลูกตามีขนาดเล็กกว่าปกติ
ผู้ที่มีภาวะสายตายาวจะมองเห็นได้ดีในระยะไกลแต่มองใกล้ไม่ชัดเจน
ภาวะสายตายาว Hyperopia
Image in front of and behind retina
Normal cornea
ตำแหน่งชัดที่สุดของการมองเห็น (Focal point) มีมากกว่า 1 ตำแหน่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อมกัน กับภาวะสายตาสั้นและยาวผิดปกติ (ไม่ว่าระยะใกล้หรือไกลประสิทธิภาพในการมองเห็นมีความคมชัดน้อยกว่าปกติเสมอ)
มีโอกาสเกิดขึ้นได้เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของลูกตาจะคล้ายลูกรักบี้ มีลักษณะเป็นรูปวงรี ทำให้กำลังในการรวมแสงในแนวแกนตั้ง และแกนนอนเกิดขึ้นคนละตำแหน่งไม่ซ้อนทับกันพอดี ทำให้เกิดจุดรวมแสงที่ทำให้เกิดภาพชัด 2 ตำแหน่ง บนจอรับภาพ เป็นเหตุให้การมองเห็นภาพไม่คมชัดเท่าที่ควร ผู้ที่มีภาวะสายตาเอียงจะพบกว่าคุณภาพในการมองเห็นจะไม่คมชัด
Cornea with astigmatism
ภาวะสายตาเอียง Astigmatism
Image: Courtesy of http://www.ivo.gr/en/patient/information-eye/presviopia.html
ภาวะสายตายาวสูงอายุ Presbyopia
ในภาวะปกติเลนส์ตาทั่วไปของคนเรา ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับเลนส์ของกล้องถ่ายรูป ที่สามารถเพิ่มหรือลดกำลังขยายของเลนส์ได้โดยการทำงานร่วมกับเอ็น และกล้ามเนื้อรอบดวงตาหรือที่เราเรียกว่า accommodation ฟังก์ชั่นการทำงานดังกล่าว ช่วยให้เลนส์สามารถปรับกำลังการมองเห็น เพื่อให้ได้ภาพชัดเจนที่สุดบนจอรับภาพโดยตลอด เมื่อการทำงานในฟังก์ชั่นดังกล่าวมีประสิทธิภาพลดลงตามปัจจัยของอายุคนเราที่เพิ่มขึ้น ไม่สามารถปรับกำลังการมองเห็นได้ดี เช่นขณะที่มีอายุน้อย เป็นเหตุประสิทธิภาพในการมองเห็นชัดอยู่ตลอดเวลาด้วยการ accommodate ของเลนส์ตาเปลี่ยนไป ทำให้เกิดภาวะสายตายาวสูงอายุผู้ที่มีภาวะสายตายาวสูงอายุพบได้ในวัยที่มีอายุ 40+ ปีขึ้นไป ภาวะการมองใกล้ได้ชัดเจนลดลง อาจต้องพึ่งพา แว่นสายตาในการอ่านหนังสือ
วิธีการแก้ปัญหาสายตาผิดปกติ
วิธีการในการแก้ปัญหาสายตาผิดปกติขั้นพื้นฐานสามารถทำได้โดยการใช้ แว่นสายตา, คอนแทกเลนส์ , การแก้ปัญหาสายตาโดยวิธีเลเซอร์ (Refractive Surgery / Laser Vision Correction (LVC) การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL
Laser Vision Correction (LVC): เป็นการแก้ปัญหาสายตาผิดปกติวิธีหนึ่งที่เพิ่มขีดขวามสามารถของการรักษาโดยวิธีใช้เลเซอร์ในการปรับคุณภาพการมองเห็น ลดการพึ่งพาแว่นตาและคอนแทกซ์เลนส์ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว LVC จะใช้วิธีการใช้เลเซอร์ความแม่นยำสูงในการปรับความโค้งของกระจกตาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นให้ชัดเจนสูงสุด
วิวัฒนาการของ LVC technique มีพัฒนาการเริ่มต้นมาจากการปรับแต่งความโค้งของเนื้อกระจกตาในชั้นต่างๆดังแสดงให้เห็นในรูปด้านล่าง
เฟสที่ 1 เริ่มจากการปรับแต่งผิวกระจกตา
ในชั้น Bowman’s Membrane
เฟสที่ 2 และ 3 จะเป็นการปรับแต่งผิวกระจกตา
ในชั้น Stroma ซึ่งถือว่ามีพื้นที่ในการปรับแก้ไขได้มากที่สุด
Image: Courtesy of http://www.allaboutvision.com/conditions/fuchs-corneal-dystrophy.htm
วิวัฒนาการ การรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์
ภาวะสายตายาวสูงอายุ
ภาวะสายตาเอียง
ภาวะสายตายาว
ภาวะสายตาสั้น
ภาวะสายตาปกติ
กรณีที่แสงเดินทางผ่านกระจากตาและเลนส์แก้วตาตกกระทบลงพอดีที่จุดรับภาพบนจอประสาทตา
Optic nerve
Cornea
ตำแหน่งชัดที่สุดของการมองเห็น (Focal point) อยู่พอดีบนจอรับภาพสามารถมองเห็นวัตถุได้ชัดเจน ทั้งในระยะใกล้และไกล
Lens
Retina
ภาวะสายตาปกติ (Emmetropia)
Pupil
เลสิก
การผ่าตัดแบบ ReLEx SMILE
การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL
ทีมแพทย์
เทคโนโลยี
หน้าหลัก
ติดต่อเรา
การผ่าตัดแบบ Femto LASIK
วิธีการผ่าตัด
การผ่าตัดแบบ PRK
ประสบการณ์เลสิก
การรักษาเลสิกแบบใช้ใบมีด Microkeratome
เฟสที่ 1 เริ่มจากการปรับแต่งผิวกระจกตาในชั้น Bowman’s Membrane
เฟสที่ 2 และ 3 จะเป็นการปรับแต่งผิวกระจกตาในชั้น Stroma ซึ่งถือว่ามีพื้นที่ในการปรับแก้ไขได้มากที่สุด
• การรักษาเลสิกแบบใช้ใบมีด Microkeratome
• การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL
• การผ่าตัดแบบ PRK
• การผ่าตัดแบบ ReLEx SMILE
• การผ่าตัดแบบ Femto LASIK
วิธีการผ่าตัด
เทคโนโลยี